วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

สไลด์

การนำสไลด์จาก Picasa Web Albums มาโพสใน blog

การนำสไลด์จาก Picasa Web Albums มาโพสใน blog

เป็นการนำเอาสไลด์รูปภาพมาวางไว้ใน blog เพื่อประกอบข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆที่เราจะบอกผ่านบทความ หรือ บอกผ่านสไลด์เอง ซึ่งการนำสไลด์มาวางนั้นสามารถทำได้โดยไม่ยาก แต่ก่อนอื่นเราต้องมี blog เป็นของตัวเองก่อนนะครับ

สามารถสมัคร blog ได้จาก

เมื่อเรามี blog แล้วนะครับก็มาเริ่มวิธีการนำสไลด์จาก Picasa Web Albums มาใส่ใน blog กันเลย

การเข้า Picasa Web Albums นั้นสามารถทำได้หลายทางด้วยกันน๊ะครับ คือสามารถเข้าได้จาก บัญชี Google ของเราก็ได้
หรือเข้าที่เว็ปโดยตรงเลยก็ได้ครับ

www.picasaweb.google.com/



จากนั้นก็ล็อคอินเข้าไปใช้งานเว็ปได้เลย


อันดับแรกนะครับเราก็ต้องเข้าไปที่หน้าแรกของ Picasa Web Albums ก่อนนะครับ


หน้าต่าง web จะขึ้นหน้า my photo
พอเข้าเว็ปแล้ว เราก็ทำตามขั้นตอนดังนี้นะครับ

1. ต้องสร้าง Albums รูปก่อน โดยคลิ๊กไปที่ upload



ถ้าใครยังไม่ติดตั้ง เวป ให้ทำการติดตั้งก่อนนะคับ โดยการกด install ก่อน

จะปรากฎหน้าต่าง


2. คลิกไปที่ create a new album



จะปรากฎหน้าต่างใหม่เป็น



3. ทำการตั้งชื่อ album ในช่อง title
เลือก public แล้วเลือกที่ปุ่ม continue



จะปรากฎหน้าต่าง



4. กด ADD PHOTO เพื่อเข้าทำการเลือกรูปภาพ




จะปรากฎหน้าต่างใหม่ ทำการเลือกรูปภาพที่เราต้องการ แล้วกด OPEN







แล้วจะขึ้นรูปภาพที่เราเลือกในเว็ป PICASA
ทำการ ADD PHOTO จนครบทุกรูปที่เราต้องการ จากนั้นก็กด upload



จะปรากฎหน้าต่าง



5. กด LINK TO THIS ALBUM เพื่อ coppy เอาโคดของสไลด์



แล้วกดที่ embed slideshow



แล้วจะปรากฎหน้าต่างใหม่ที่แสดงโคดของสไลด์



6.สามารถกำหนดขนาดของสไลด์และการเล่นของสไลด์ได้ด้วย โดยกำหนดที่



ทำการ COPPY โคดไว้ทั้งหมด
ก็จะได้โคดสำหรับที่จะนำมาใส่ไว้ใน blog ของเราแล้วละครับ ขั้นตอนต่อก็คือ การนำโคดที่ coppy มาไปวางไว้ใน blog ครับ

การนำเอาโคดมาวางไว้ใน blog
โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้ครับ

1. เข้าไปที่ blog ของเราก่อนครับ



2.กดที่ บทความใหม่ เพื่อเข้าสู่การเขียนบทความครับ



จะปรากฎหน้าต่างใหม่ที่ให้เราเขียนบทความครับ



3. ทำการตั้งชื่อบทความ แล้วก็ paste โคดของ blog ที่เรา coppy มาลงไปในช่องเขียนบทความ ใส่ป้ายกำกับ

แล้วก็เผยแพร่บทความได้เลย



ก็เป็นอันว่าเสร็จพิธีแล้วครับ เสร็จสิ้นกระบวนการในการนำเอา สไลด์จาก Picasa Web Albums มาใส่ใน blog แล้วครับ

จากนั้นก็เข้าไปดู blog ของเราก็จะเห็นสไลด์ปรากฎบน blog ของเราแล้วครับ



ตัวอย่างสไลด์ที่ทำเสร็จแล้ว เมื่อมาปรากฎบน blog จะเป็นอย่างนี้นะครับ

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

เรือนไทยภาคอีสาน


เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการ ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

ลักษณะชั่วคราว
สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย



ลักษณะกึ่งถาวร
คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน

ลักษณะถาวร
เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ เรือน เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของอาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง

เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน
ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแล
ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุ
ที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ

องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน
1. เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.1 ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
1.2 ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
1.3 ห้องนอนลูกสาว หรือเรียกว่า ห้องส่วม มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ

2. เกย คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน


3. เรือนแฝด เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก

4. เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน



5. เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด

6. ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน" ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ

เรือนล้านนา


เรือนไทยภาคเหนือ เป็นหนึ่งใน เรือนไทย 4 ภาคของไทย ส่วนมากจะพบในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และอุตรดิตถ์

เรือนล้านนา
เกิดเรือนประเภทต่าง ๆ ขึ้นตามสภาพการใช้งาน

เรือนชนบท หรือเรือนเครื่องผูก
เป็นเรือนขนาดเล็ก เรือนประเภทนี้กันทั่วไปเนื่องจากก่อสร้างง่ายราคาถูก ตามชนบทและหมู่บ้านต่าง ๆ เรือนชนิดนี้โครงสร้างส่วนหลังคา ตงพื้นใช้ไม้ไผ่ ส่วนคานและเสานิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง ฝาเป็นฝาไม้ไผ่สาน หลังคามุงแฝกหรือใบตองตึง นิยมใช้ตอกและหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกมัด จึงเรียกกันว่า "เรือนเครื่องผูก" สร้างขึ้นกลางทุ่งนา เพื่อเฝ้าทุ่ง หรือเพื่อประโยชน์การใช้งานตามฤดูกาล มีลักษณะชั่วคราวอยู่ได้ 2-4 ปี เมื่อถึงฤดูฝนในปีหนึ่งๆต้องมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ มีการออกแบบโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสัดส่วนที่ลงตัว ค่อนข้างกระชับ

เรือนไม้ หรือเรือนเครื่องสับ
เรือนไม้ เป็นเรือนของผู้มีอันจะกิน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น สัก เต็ง รัง ตะเคียน ไม้แดง ฯลฯ การปลูกเรือนประเภทนี้ไม่ต้องใช้ตะปูตอก ยึดให้ไม้ติดกันหรือประกอบกัน โดยการใช้มีด สิ่ว หรือขวานถากไม้ให้เป็นรอยสับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน เรียกว่า การประกอบเข้าลิ้นสลักเดือย หลังคามุงกระเบื้อง (ดินขอ) หรือแป้นเกล็ด

เรือนกาแล

เรือนกาแล
กาแล เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคเหนือเรือนกาแล เป็นเรือนพักอาศัยของผู้มีอันจะกินและผู้นำชุมชน หรือเป็นเรือนของบุคคลชั้นสูงในสังคม เรือนประเภทนี้มีลักษณะพิเศษคือมียอดจั่วประดับกาแลไม้สลักอย่างงดงาม นิยมมุงกระเบื้องไม้เรียก “แป้นเกล็ด” แต่ปัจจุบันไม้เป็นวัสดุหายากมีราคาแพงจึงเปลี่ยนมาใช้ “ดินขอ” มุงหลังคาแทน ใช้วัสดุอย่างดี การช่างฝีมือสูงประณีต แต่มีแบบค่อนข้างตายตัว ส่วนใหญ่เป็นเรือนแฝด มีขนาดตั้งแต่ 1 ห้องนอนขึ้นไป เรือนกาแลจะมีแผนผัง 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบเอาบันไดขึ้นตรงติดชานนอกโดดๆ กับแบบเอาบันไดอิงชิดแนบฝาใต้ชายคาคลุม แต่ทั้งสองแบบจะใช้ร้านน้ำตั้งเป็นหน่วยโดดๆ มีโครงสร้างของตนเองไม่นิยมตีฝ้าเพดาน หรือบางกลุ่มประกอบด้วยเรือนหลายหลังเป็นกลุ่มใหญ่

ความเป็นมาของกาแลนี้ มีข้อสันนิษฐานดังนี้

คำว่า “กาแล” อาจจะเพี้ยนมาจากคำ “กะแลง” ซึ่งมีความหมายว่า ไขว้กันอยู่
รูปลักษณะอาจพัฒนามาจาก แต่เดิมเป็นเรือนไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบตองตึง(ใบพลวง) ซึ่งต้องมีไม้ปิดหัวท้ายตรงสันหลังคาตอนหน้าจั่ว เมื่อพัฒนาเป็นเรือนไม้จริงมุงด้วยกระเบื้องดินขอ การใช้ไม้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมไขว้กัน แบบธรรมดาคงไม่เกิดความงาม จึงคิดประดิษฐ์แกะสลักปลายไม้ ให้เกิดความอ่อนโค้งงดงามด้วย
อาจจะรับอิทธิพลมาจากชาวพื้นเมืองเดิม คือ พวกลัวะ (ละว้า) ซึ่งเรือนแบบดั้งเดิมของพวกลัวะ จะมีการใช้กาแลนี้ประดับ โดยแต่ละแห่งจะแกะสลักลวดลายเฉพาะอย่างไป เป็นเครื่องหมายบอกถึงเชื้อตระกูล ชาวล้านนา (โดยเฉพาะเชียงใหม่) อาจจะรับรูปแบบมาแล้วพัฒนาเป็นรูปแบบของตนเองในภายหลังอีกที
อาจจะทำไว้ให้มีความหมายเพื่อเป็นสิริมงคล หรือทำไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แร้ง กามาเกาะหลังคา (ซึ่งถือว่าเป็นเสนียดอัปมงคล) นอกจากนี้ยังคงเป็นเครื่องแสดงบอกฐานะของเจ้าของเรือนด้วย



องค์ประกอบของเรือนล้านนา
จะมีส่วนประกอบหลักๆดังนี้

ข่วงบ้าน
ข่วงบ้าน ลักษณะเป็นลานดินกวาดเรียบกว้างเป็นลานอเนกประสงค์ ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนเล่นของเด็ก ลานตากพืชผลทางการเกษตร เป็นลานที่เชื่อมเส้นทางสัญจรหรือทางเดินเท้าให้เข้าสู่ตัวอาคาร และกระจายไปสู่ลานในบ้านข้างเคียงและถนนหลัก

บันไดและเสาแหล่งหมา
ตัวบันไดเรือนจะหลบอยู่ใต้ชายคาบ้านด้านซ้ายมือเสมอ จึงต้องมีเสาลอยรับโครงสร้างหลังคาด้านบนตั้งลอยอยู่ แต่โดยทั่วไปเรือนไม้มักจะยื่นโครงสร้างออกมาอีกส่วนหนึ่งโดยทำเป็นชายคาคลุมบันไดหรือเป็นโครงสร้างลอยตัว ส่วนเรือนแฝดประเภทมีชานเปิดหน้าเรือน ไม่หลบบันไดเข้าชายคา แต่จะวางบันไดชนชานโล่งหน้าเรือนอย่างเปิดเผย “เสาแหล่งหมา” คือเสาลอยโดด ๆ ต้นเดียว ที่ใช้รับชายคาทางเข้าซึ่งมาจากการที่ชาวเหนือนำหมามาผูกไว้ที่เสานี้นั่นเอง

ชาน
ชานเรือน คือพื้นไม้ระดับต่ำกว่าเติ๋น มักไม่มุงหลังคา เสารับชานเรียก เสาจาน ที่สุดช่านด้านที่มีคันได(บันได) มักจะมีฮ้านน้ำ(ร้านน้ำ)

ร้านน้ำ หรือ ฮ้านน้ำ
คือหิ้งสำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวยหิ้งน้ำ สูงประมาณ80-100 เซนติเมตร หากหิ้งน้ำอยู่ที่ชานโล่งแจ้งเจ้าของบ้านจะทำหลังคาคลุมลักษณะคล้ายเรือนเล็ก ๆ เพื่อมิให้แสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำนี้ยิ่งเก่ายิ่งดี เพราะมักจะมีตะใคร่น้ำเกาะ ภายนอกช่วยให้น้ำในหม้อเย็นกว่าเดิม ข้างๆหม้อน้ำจะวางซองน้ำบวย (ที่ใส่น้ำกระบวย) ทำจากไม้ระแนงเป็นรูปสามเหลี่ยมตัว V ใส่กระบวยที่ทำจากกะลามะพร้าวต่อด้ามไม้สัก บางทีสลักเสลาปลายด้ามเป็นรูปสัตว์ต่างๆน่าสนใจ

เติ๋น
ตัวเติ๋นเป็นเนื้อที่กึ่งเปิดโล่ง มีขนาดไม่เล็กกว่าห้องนอนเท่าใดนัก ในกรณีของเรือนชนบทเป็นเนื้อที่ใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ ถ้ามีแขกผู้น้อยมาหาเจ้าของบ้านจะนั่งบนเติ๋นแขกนั่งบนชานบันไดหรือเนื้อที่ที่มีระดับต่ำกว่า ถ้ามีแขกมีศักดิ์สูงกว่า เช่น ผู้ใหญ่ พระสงฆ์ เจ้าของบ้านก็จะนั่งถัดลงมา งานสวดศพก็จะใช้เนื้อที่นี้ประกอบพิธีกรรม ในกรณีที่มีลูกสาว ในเวลาค่ำคืนพวกหนุ่มก็มาแอ่วสาวที่เติ๋นนี้เอง เรือนที่มีห้องนอนเดียวก็จะใช้เติ๋นเป็นที่นอนของลูกชาย ลูกผู้หญิงนอนกับพ่อแม่ ลูกชายประเภทแตกเนื้อหนุ่มออกเที่ยวยามค่ำคืนกลับมาดึกดื่นไม่ต้องปลุกใครเข้านอนได้เลย

ห้องนอน
ในระดับเรือนชนบทห้องนอนจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อที่ใช้งานอื่นๆ ฝาด้านทึบจะอยู่ชิดเติ๋น ประตูทางเข้าจะเปิดที่ผนังด้านโถงทางเดินที่ใช้ติดต่อกันทั้งบ้าน ส่วนเรือนไม้และเรือนกาแลที่มีตั้งแต่สองห้องนอนขึ้นไปบางทีรวมเนื้อที่ห้องนอนทั้งหมดแล้ว อาจจะเท่าเติ๋นหรือเล็กกว่าเล็กน้อย ห้องนอนในเรือนกาแลมักจะมีขนาดใหญ่ ฝาล้มออก จะจัดเนื้อที่ห้องนอนออกเป็นสองส่วนซีกหนึ่งใช้เป็นที่นอน อีกซีกใช้วางของ ระหว่างเนื้อที่ทั้งสองซีกมีแผ่นไม้กั้นกลาง (ไม้แป้นต้อง) ไม้ตัวนี้จะตัดความสั่นไหวของพื้นห้องนอนออกจากกันด้วย เมื่อใช้เดินออกจากห้องนอนในยามเช้า ขณะที่ผู้อื่นยังหลับไหลอยู่ ทำให้พื้นที่ส่วนอื่นไม่ไหวไม่เกิดเสียงไม้เบียดตัวกัน

หิ้งผีปู่ย่า(หิ้งบรรพชน)
เป็นหิ้งที่จัดสร้างเหนือหัวนอน ติดฝาด้านตะวันออกตรงมุมห้องอยู่ติดเสา หรือระหว่างเสามงคลและเสาท้ายสุดของเรือน มักทำเป็นหิ้งเล็กๆยื่นจากฝาเข้ามาในห้องมีระดับสูงเท่าๆ หิ้งพระ ผีปู่ย่า หมายถึง วิญญาณของบรรพชนที่สิงสถิตในห้องนอนนี้ และให้การคุ้มครองแก่ทุกคนที่อาศัยในห้องนี้ บนหิ้งมักมีพานหรือถาดใส่ดอกไม้ธูปเทียนจากการเซ่นไหว้เป็นครั้งคราว และมีการเซ่นไหว้เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เช่นแต่งงาน เจ็บป่วย เป็นต้น



ห้องครัว
ห้องครัวจะอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องนอนเสมอ โดยแยกไปอีกหลังหนึ่ง โดยจะวางขนานกับเรือนใหญ่หรือเรือนนอน มีช่องทางเดินแยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน เนื้อที่ที่ใช้ตั้งเตาไฟจะยกขึ้นมาเป็นแท่นไม้อัดดินแน่น พวกอุปกรณ์หุงต้มต่างๆ จะจัดอยู่บนแท่นไม้นี้ เป็นการป้องกันอัคคีภัยอย่างหนึ่ง ทำงานแบบนั่งก็สะดวก ภายในเรือนครัวประกอบด้วยส่วนเตาไฟ ทำด้วยกระบะไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อัดด้วยดินให้แน่นและเรียบสูงประมาณ 20 ซม. เป็นที่ฝัง “ก้อนเส้า” มักทำด้วยดินกี่(อิฐ) 3 ก้อน ตั้งเอียงเข้าหากัน เพื่อใช้เป็นเตาไฟ และวางหม้อแกง หรือหม้อนึ่งข้าวได้พอดี อาจจะทำ “ก้อนเส้า” ดังกล่าวนี้ 2 ชุด เพื่อสะดวกแก่การทำครัว ส่วนเหนือของเตาไฟจะมี “ข่า” ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ก็ได้เป็นตารางสำหรับย่างพืชผล และเป็นที่รมควันพวกเครื่องจักสาน กระบุง ตะกร้า เพื่อกันตัวมอดและทำให้ทนทานอีกด้วย ตอนบนหลังคาระดับจั่วจะเจาะโปร่งเป็นช่อง เพื่อการระบายควันไฟขณะทำครัว

เรือนไทยภาคใต้


เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็น

เรือนเครื่องผูก
เรือนเครื่องสับ
เรือนก่ออิฐฉาบปูน
โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุไต้ฝุ่น พายุฝน ลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลักษณะเรือนไทยเป็นเรือนยกพื้นสูง แต่ว่าไม่สูงจนเกินไป พอที่จะเดินลอดได้

เรือนไทยภาคใต้ แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ แถบชายทะเลด้านใน คือ ชายทะเลฝั่งตะวันออกซึ่งติดกับอ่าวไทย และแถบชายทะเลด้านนอก คือ ชายทะเลฝั่งตะวันตกซึ่งติดกับทะเลอันดามัน โดยที่พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกด้านอ่าวไทยเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากกว่าฝั่งตะวันตก บ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก มักเป็นเรือนหลังคาหน้าจั่วทรงสูงแบบเรือนไทยภาคกลาง แต่ไม่นิยมทำปั้นลมและตัวเหงา

หลังคาเรือนไทยภาคใต้มี 3 ลักษณะคือ

หลังคาจั่ว
ในชุมชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมและประมงจะปลูกสร้างเรือนหลังคาทรงจั่ว ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ว วัสดุมุงหลังคาส่วนใหญ่ใช้จาก แต่บางเรือนที่มีฐานะดีจะ มุงกระเบื้องเพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความลาดชันของหลังคาขึ้นอยู่กับวัสดุมุง หลังคาในท้องถิ่นนั้นว่าจะใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูนหรือมุง แฝกจากเรือนเครื่องผูกหลังคาทรงจั่วปลูกสร้างง่ายด้วยตนเอง โยกย้ายได้ง่ายวัสดุ หาง่าย ส่วนเรือนเครื่องสับ สำหรับผู้มีฐานะดีหลังคาจั่วเป็นรูปตรงทรงไม่สูงตกแต่งหน้าจั่วยอด จั่วมุงนั้นด้วยกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมเชิงชาย และช่องลมใต้เพดานแต่งด้วยไม้ฉลุสวยงาม ตัวเรือนใต้ถุนยกสูงมีระเบียงและนอกชานลดหลั่นกัน



หลังคาปั้นหยา
มีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาเป็นพิเศษหลังคาตรงหัวท้ายเป็นรูปลาด เอียงแบบตัดเหลี่ยมหลังคามุงกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยม ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคา ครอบด้วยกันน้ำฝนรั่ว หลังคาแบบนี้โครงหลังคาแข็งแรงมากสามารถทนรับ ฝนและต้านแรงลม หรือพายุไต้ฝุ่นได้ดีมาก ส่วนใหญ่อยู่ทางจังหวัดสงขลา

หลังคามนิลา หรือ หลังคาบรานอร์
หรือแบบรานอร์เป็นการผสมผสานหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยาคือส่วนหน้าจั่ว ค่อนข้างเตี้ยจะเป็นจั่วส่วนบนส่วนล่างของจั่วจะเป็นหลังคาลาดเอียงลงมารับกับ หลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอดเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เรือนแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดปัตตานี

โดยส่วนมากจะเป็นบ้านที่มีหลังคาแบบมนิลาหรือบรานอร์ และเพิ่มเติมลายไม้กลมฉลุไม้ที่ส่วนยอดซึ่งพบมากในชุมชนชาว ไทยมุสลิมหลังคาทั้ง 4 แบบ มีอยู่ทั่วไปแต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงสูงต่ำอย่างไรขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างและวัสดุมุงหลังคาในท้องถิ่นนั้น เช่น ถ้าใช้กระเบื้องดินเผา หรือใช้ กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ มุงแฝกจาก ความลาดชันของหลังคาจะไม่เท่ากัน



ลักษณะทั่วไปของเรือนไทยในภาคใต้
เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินเพราะว่าดินมันชื้น และก็จะทำให้เสาผุเร็ว แต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่ ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสา ตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1- 2 ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง 3 แถวเพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น

ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน 1 ห้อง อีกห้องหนึ่งปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ หลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทย ภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา

นครวัด



นครวัดเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ และเป็น 1 ใน 7สิ่งมหัสศจรรย์ของโลกมาแล้ว เป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมขอมที่เก่าแก่ ทั้งยังมีเรื่องราว ความเชื่อ ต่างๆ ที่บรรพบุรุษขอมได้หลงเหลือเอาไว้ให้จดจำ




ความยิ่งใหญ่อลังการของปราสาท นครวัด นั้น ไม่ได้มาจากเพียงแค่ขนาดอันใหญ่โตมโหฬาร ของตัวปราสาทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประวัติศาสตร์ และตำนานที่ซ่อนตัวภายในด้วย มีตำนานไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง อย่างเช่น ภาพสลักราหูอมจันทร์ ซึ่งไปเกี่ยวเนื่องกับ ตำนานการกวนเกษียรสมุทร ที่จะทำให้รู้ว่า ทำไมราหูซึ่งร่างกายขาดเป็นสองท่อนแล้วถึงยังไม่ตาย ทำไมถึงได้เคียดแค้น พระอาทิตย์ กับพระจันทร์ จนถึงกับต้องจับกินทุกครั้งที่พบกัน





สามารถดาวโหลดข้อมูลได้ที่

http://th.upload.sanook.com/A0/4268d36e9af39b69087f3c17022312b3

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

พระตำหนักทับขวัญ



พระตำหนักทับขวัญ เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด และเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมเรือนไทยชั้นครูที่ยังคงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ฤทัย ใจจงรัก อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้วิจัยเรื่อง "เรือนไทยเดิม" กล่าวว่า "เรือนทับขวัญ ถือว่าเป็นฝีมือครู ซึ่งเป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นหลังไปศึกษาค้นคว้าได้ดีที่สุด เรือนนี้อยู่ในประเภทเรือนคหบดีและมีส่วนประกอบครบ" พระตำหนักทับขวัญตั้งอยู่ภายในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม นายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคือ พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2454 พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรับเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ ปัจจุบัน ภายในพระตำหนักใช้จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านไทยศึกษาของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว




ประวัติความเป็นมาพระตำหนักทับขวัญ
ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองนครปฐมห่างไป 1 กิโลเมตร มีบริเวณที่เรียกกันมาว่า "เนินปราสาท" ใกล้ๆ กับเนินแห่งนี้ มีสระน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า "สระน้ำจันทร์" เป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังเพื่อแปรพระราชฐานในการเสด็จมาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ และทรงพระราชทานนามว่า พระราชวังสนามจันทร์ การก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆ ในพระราชวังสนามจันทร์นั้น ได้ดำเนินติดต่อกันมาถึง 4 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2454

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือนไทยพระตำหนักทับขวัญขึ้น โดยโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2454 การสร้างพระตำหนักทับขวัญในรูปแบบของเรือนไทยเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรับเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยพระตำหนักทับขวัญสร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักทับแก้ว ซึ่งเป็นตึกฝรั่งอยู่ทางด้าน ตะวันออกคนละฟากถนนกับทับแก้ว

ในสมัยรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทยขอให้ทับขวัญเป็นที่พักเกษตรมณฑล พ.ศ. 2479 เพื่อจัดการบูรณะ ทางจังหวัดนครปฐมขอทับขวัญเป็นสิทธิ์ ตามเรื่องราวปรากฏว่า "เคยเป็นตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กระทรวงวังมีความรังเกียจที่จะให้ผู้อื่นอยู่ร่วมอาศัย ได้เคยดำริจะรื้อนำมากรุงเทพฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2476 แต่ยังมิได้จัดการอย่างไรต่อจากนี้ เลขานุการคณะกรรมการพระราชวัง ได้มีหนังสือถึงราชเลขานุการในพระองค์ ความว่า ยังไม่เห็นควรรื้อ เพราะ เห็นว่าเรือนนี้ยังคงทนถาวรอยู่"

ปี พ.ศ. 2509 พระตำหนักทับขวัญตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร สภาพพระตำหนักในตอนนั้น ทรุดโทรมมาก หลังคา ชำรุดและรั่ว พื้นพัง โดยเฉพาะพื้นชานไม่ สามารถใช้ได้ ในปี 2511 มหาวิทยาลัย มีความคิดที่จะใช้ทับขวัญเป็นพิพิธภัณฑ์ทางภาษาและวัฒนธรรมไทยและคิดจะบูรณะแต่ขาดเงินซึ่งภายหลังกรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ของบประมาณ และขอรับบริจาคจากหน่วยงานต่าง ๆ จนสามารถดำเนินการบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์โดยวิธีรื้อของเก่าออกทั้งหลังแล้วประกอบใหม่ให้เหมือนเดิมโดยเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาแทนจาก

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการละครพูดกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมกันจัดการแสดงละครพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ. 2519 เพื่อเก็บเงินตั้งเป็นกองทุนบูรณะพระตำหนักทับขวัญ โดยมีการแสดงเรื่อง "ตบตา" และเรื่อง "ทานชีวิต" ที่โรงละครแห่งชาติ

ใน พ.ศ. 2524 อันเป็นปีฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 100 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากร ได้เสนอของบประมาณเพื่อบูรณะพระตำหนักทับขวัญเป็นเงินหนึ่งล้านบาท ฝ่ายมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตั้ง "คณะกรรม การร่างโครงการบูรณะเรือนทับขวัญ" และได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์ขอให้ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อการนี้

ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยชี้แจงว่าจะใช้พระตำหนักทับขวัญเป็นศูนย์วัฒนธรรมภาคกลางและภาคตะวันตก ซึ่งธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด บริจาคเงินสมทบทุนไว้อีก หนึ่งหมื่นบาท ในปีเดียวกันนี้ชุมนุมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ได้จัดการโขนกลางแปลงเรื่อง "มารชื่อพิเภก" ได้เงินหนึ่งแสนบาทและสมาคมชาวนครปฐม จัดงาน "ห้าธันวามหาราช" ได้เงินสมทบทุนอีกหนึ่งแสนบาท และต่อมาบริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด ได้บริจาคเงินสองล้านบาทร่วมบูรณะพระตำหนักทับขวัญ เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 ในขณะเดียวกันกรมศิลปากร ได้งบประมาณแผ่นดินเพื่อบูรณะพระตำหนักทับขวัญหนึ่งล้านบาท

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2525 นี้เอง ทางมหาวิทยาลัยได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ทั้งหลัง โดยให้อยู่ในรูปแบบลักษณะเดิมทุกประการ แต่เปลี่ยนแปลงทางด้านระบบโครงสร้างและวัสดุ ทางด้านโครงสร้าง เสาช่วงล่างเปลี่ยนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและเพิ่มคานด้านความยาวเพื่อรองรับราที่เพิ่มให้ถี่ขึ้น ในการรองรับพื้นเรือนให้สามารถรองรับน้ำหนักจากผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมพระตำหนักซึ่งจำนวน จะมากกว่าปกติ ส่วนวัสดุจะเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากตับเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาหลบหลังคาที่สันหลังคา และหลบหลังคาปั้นลมเปลี่ยนมาเป็นทำด้วยปูน และปูอิฐที่ใต้ถุน เพื่อให้ได้ประโยชน์การใช้สอยเพิ่มขึ้น พระตำหนักทับขวัญที่สร้างใหม่เสร็จวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2526โดยในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2526 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธี

ปัจจุบัน ภายในพระตำหนักใช้จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านไทยศึกษาของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เรื่องเกี่ยวกับภาษา วรรณคดี โบราณคดี การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กิจการเสือป่า และลูกเสือไทย เป็นต้น




ลักษณะของเรือนไทยพระตำหนักทับขวัญ
เรือนไทยพระตำหนักทับขวัญสร้างด้วยไม้สักทองใช้วิธีเข้าไม้ตามแบบฉบับบ้านไทยโบราณ ฝาเรือนทำเป็นฝาปะกนกรอบลูกฟัก เชิงชายและไม้ค้ำยันสลักเสลาสวยงาม หลังคาเดิมมุงจาก หลบหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา พระตำหนักทับขวัญประกอบด้วยกลุ่มเรือน 8 หลัง ได้แก่ เรือนใหญ่ 4 หลัง เรือนเล็ก 4 หลัง สร้างให้หันหน้าเข้าหากัน 4 ทิศบนชานรูปสี่เหลี่ยม เรือนหลังใหญ่เป็นหอนอน 2 หอ (ห้องบรรทมเป็นหอนอนที่อยู่ทางทิศใต้) อีก 2 หลังเป็นเรือนโถงและเรือนครัวซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนเรือนเล็กอีก 4 หลังนั้นตั้งอยู่ตรงมุม 4 มุมๆ ละ 1 หลัง ได้แก่ หอนก 2 หลัง เรือนคนใช้และเรือนเก็บของ เรือนทุกหลังมีชานเรือนเชื่อมกันโดยตลอด บริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันทน์ใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่กลางนอกชาน รอบๆ บริเวณปลูกไม้ไทย มีต้นจันทร์ จำปี นางแย้ม นมแมว เป็นต้น (เมื่อปี พ.ศ. 2510 - 2511 ยังมีกระถางไม้ดัดและอ่างปลาเหลืออยู่ที่นอกชาน)

คูหาหน้าบันประดับด้วยป้านลมและตัวเหงาหน้าบันเป็นแบบลูกฟักหน้าพรหม ฝาเรือนเป็นไม้เข้าลิ้นแบบฝาปะกน พระตำหนักนี้จะมีบันไดขึ้นลง 2 บันได บันไดหน้ามีซุ้มประตูเป็นหลังคาซุ้มเล็กๆ ทรงเดียว กับหลังคาเรือน บันได อยู่ที่ส่วนเชื่อมต่อกันของชานระเบียงเรือนใหญ่กับเรือนเล็ก แรกเริ่มนั้นเรือน ทุกหลังมุงหลังคาด้วยตับจาก และหลบสันหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา แต่ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาภายหลัง โครงสร้างทั้งหมดเป็นไม้ พื้นเป็นไม้สักปูตามยาวของตัวเรือนมีรอดรองรับ นอกจากนี้พระตำหนักทับขวัญนี้ยังเป็นเรือนไทยที่มีใต้ถุนสูง ใต้ถุนของตัวเรือน คนสามารถเดินลอด ผ่านได้สะดวก ส่วนใต้ถุนของระเบียงและชาน สามารถลอดได้แต่ไม่สะดวกนัก

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



พระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหารัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ภายในวัดพระแก้วนี้มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมาย เช่น
พระอุโบสถหรือโบสถ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย มีระเบียงเดินได้รอบพระอุโบสถ

ผนังอุโบสถสวยงามมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างทั้งหมดประดับมุกโดยฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ภายในพระอุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่คนไทยรียกกันจนติดปากว่า พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียวเข้มที่มีค่าและหายากมาก ถ้าใครเคยไปแถวสนามหลวง จะมองเห็นกำแพงยาวสีขาวล้อมรอบวัดอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่โตและสวยงามมากทีเดียว ทราบไหมว่าเป็นสัตว์อะไร ก็วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั่นไง เรามาดูกันดีกว่าวัดนี้มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมากันอย่างไร

วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้มีลักษณะที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัดนี้เลยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับหลายคนคงเคยไปนมัสการพระแก้สมรกตกันมาแล้ว เคยสังเกตไหมว่าพระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ทราบหรือไม่ว่ามีเครื่องทรงฤดูอะไรบ้าง และจะเปลี่ยนเครื่องทรงเมื่อไร
เครื่องทรงของวัดพระแก้วมรกตมีเครื่องทรงฤดูร้อน เครื่องทรงฤดูฝน เครื่องทรงฤดูหนาว ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วยทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑

จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

นอกจากพระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตแล้ว ภายในวัดพระแก้วก็ยังมีพระระเบียงที่งดงามมาก ผนังด้านในของพระระเบียงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และมีคำโคลงจารึกบนแผ่นศิลาเพื่ออธิบายแต่ละภาพติดไว้ที่เสาระเบียงอีกด้วย
สิ่งสำคัญและสวยงามในวัดพระแก้วอีกอย่างหนึ่งคือ ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทจัตุรมุขยอดปรางค์ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับหอพระมนเทียรธรรม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔

ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักกรีตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ฯ ไปทรงถวายราชสักการะพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี อันเป็นวันที่ระลึกถึงพระมหาจักรีวงศ์ หรือที่เราเรียกว่า “ วันจักรี ”
ในบริเวณวัดพระแก้วนี้ยังมีสถานที่สำคัญและงดงามอีกมากมาย เช่น พระมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร เป็นพระมณฑปที่มีรูปทรงงามมาก มีซุ้มประตูทางเข้า ๔ ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงประดับกระจก ภายในพระมณฑปประดิษฐานตู้พระไตรปิฎก เป็นตู้ยอกมณฑปประดับมุกที่ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎกฉบับทอง

สถานที่งดงามซึ่งทุกคนจะได้พบเห็นนอกจากนี้ก็ยังมี พระศรีรัตนเจดีย์ วิหารยอดหอมณเทียรธรรม นครวัดจำลอง หอระฆัง ศาลาราย ฯ ถ้าอยากเห็นสถานที่สำคัญและสิ่งสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้ก็ต้องไปชมกันที่วัดพระแก้ว

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซ.ม สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซ.ม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นพระอุโบสถที่สวยสดงดงามมาก มีภาพเขียนปางมารวิชัยอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บานประตูพระอุโบสถและบานหน้าต่างประดับด้วยมุก มีลวดลายสวยงาม เป็นฝีมือในรัชกาลที่ ๑

พระระเบียง

พระระเบียง คือ พระระเบียงที่ล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน รอบพระระเบียงภายในมรภาพเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจบจบ มีโคลงสี่สุภาพจารึกลงบนแผ่นศิลาตามเสาอธิบายภาพประกอบ

ศาลารายรอบพระอุโบสถ

ศาลารายรอบพระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ศาลาราบรอบพระอุโบสถมี ๑๒ หลัง ใช้เป็นที่อ่านหนังสือศาสนาให้ราษฎรที่ไม่รู้หนังสือฟังเวลามีงานหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จนเกิดมีประเพณีสวดโอ้เอ้ วิหารรายขึ้นที่นี่

หอราชพวศานุสรณ์

. หอราชพวศานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วด้านหลังพระอุโบสถอยู่ทางทิศใต้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเขียนภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร

หอราชกรมานุสรณ์และพงษานุสร

หอราชกรมานุสรณ์และพงษานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่างๆในสมัยอยุธยาหอหนึ่ง และในสมัยรัตนโกสินทร์อีกหอหนึ่ง ภายในเขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรไทยที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้น

พระโพธิธาตุพิมาน

พระโพธิธาตุพิมาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ระหว่างหอราชกรมานุสรและหอราชพงศานุสร เป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพุทธคยา

หอพระคันธารราษฎร์

. หอพระคันธารราษฎร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งอยู่ทางด้านใต้มุมพระระเบียง หน้าพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษ-ฐานพระพุทธคันธารราษฎร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระพุทธรูปเรียกฝน เป็นพระพุทธรูปปางประทับนั่ง ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ เป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นพระประธาน ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ และพิธีพิรุณศาสตร์ ภายในหอพระคันธารราษฎร์เขียนภาพเกี่ยวกับฝนต่างๆ เช่น ฝนในแต่ละฤดู รวมทั้งฝนโบกขรณีด้วย ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง

หอระฆัง

หอระฆัง อยู่ทางด้านใต้พระอุโบสถ เดิมสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑
และมารื้อสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำเป็นบุษบกฐาน ด้วยฐานแบบปรางค์ชนิดย่อมุมไม้สิบสอง ต่อจากฐานขึ้นไปเป็นอาคารสี่เหลี่ยม ระฆังนี้กล่าวว่านำมาจากวัดสระเกศ มีเสียงกังวานดีกว่าแห่งอื่น หอระฆังนี้นับ
ว่าเป็นหอระฆังที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง

พระมณฑป

พระมณฑป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่

ปราสาทพระเทพบิดร

ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพ.ศ.๒๓๙๘ อยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ เป็นปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปราสาทพระเทพบิดรนี้ จะเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้ในวันจักรี คือวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี

หอมณเฑียรธรรม

หอมณเฑียรธรรม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ใช้เป็นที่สำหรับราชบัณ-ฑิตบอกหนังสือพระภิกษุสามเณร และไว้ตู้พระไตรปิฎกประดับมุก ๒ ตู้ ภายในหอมณเฑียรธรรม เขียนลายรดน้ำ ตอนบนมีภาพเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม ตอนล่างเป็นภาพเทพบุตร เทพธิดา

หอพระนาก

หอพระนาก สร้างในสมัยรัชกาลที่๑ ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนหล่อด้วยนาก พระพุทธรูปองค์นี้ ต่อมาย้ายไปไว้ที่ พระวิหารยอด ปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์

พระศรีรัตนเจดีย์

พระศรีรัตนเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลท ี่ ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

นครวัดจำลอง

นครวัดจำลอง อยู่ทางด้านหลังของปราสาทพระเทพบิดร อยู่บนลานพระมณฑป รัชกาลที่ ๔ โปรดให้จำลองไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ที่นครวัด ซึ่งอยู่ที่ประเทศเขมรปัจจุบัน เพราะสมัยโบราณชาติขอมได้เคยให้ความเคารพต่อพระแก้วมรกตอย่างสูงสุด ได้สร้างนครวัดใหญ่โตเพื่อประดิษฐานไว้ที่นั้น

วิหารยอด

วิหารยอด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปพระเทฑบิดร (พระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง) ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระนากที่อยู่หอพระนากเดิมและพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงนำมาจากเมืองสุโขทัยตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวช

เจดีย์ทอง ๒ องค์

เจดีย์ทอง ๒ องค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเจดีย์เหลี่ยมทรงเครื่องย่อไม้ยี่สิบ หุ้มทองแดงทั้งองค์ปิดทองคำเปลวบัวเชิงบาตร ฐานเจดีย์ประดับด้วยมารแบกกระบี่ โดยรอบองค์เจดีย์




ฐานไพทีและสิ่งประดับตกแต่ง

ฐานไพทีและสิ่งประดับตกแต่ง สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ บนไพทีเป็นที่ตั้งพระมณฑปพระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทพระเทพบิดร นครวัดจำลอง และบุษบกประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ และมีรูปหล่อโลหะปิดทอง เป็นสัตว์หิมพานต์ กับกระถางต้นไม้เป็นสิ่งประดับตกแต่ง หน้ากำแพงไพทีบนพนักกำแพงแต่ละมุมมีกรวยตั้งบนพาน ๒ ชั้น เรียกว่า พนมหมาก บนลานทักษิณของไพทีตั้งรูปหล่อกินนรกินรีประดับเป็นคู่ๆ

มณฑปยอดปรางค์

มณฑปยอดปรางค์ ตั้งอยู่ตรงมุมใกล้หอพระคันธารราษฎร์ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระปรางค์โบราณที่ทรงได้มาจากเมืองเหนือ เมื่อครั้งยังทรงผนวช

ช้างเผือกประจำรัชกาล

ช้างเผือกประจำรัชกาล สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำเป็นรูปช้างสำริดขนาดเล็ก ถือว่าเป็นช้างเผือประจำรัชกาล เหนือช้างขึ้นไปมีเครื่องหมายประจำรัชกาลต่างๆของพระมหากษัตริย์ในกรุงรัตนโกสินทร์

พระปรางค์ ๘ องค์

พระปรางค์ ๘ องค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ อยู่ด้านหน้าของวัด เป็นพระปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างกันทั้ง ๘ องค์ จัดเป็นศิลปอับสูงส่ง ที่ทำขึ้นเพื่อถวายแด่สิ่งศักดิ์ศิทธิ์ต่างๆ



พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง แต่เมื่อพระสงฆ์อัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงได้ทรงยึดพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนให้แก่ลาว


พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ

พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ

พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ทรงมีพระราชโองการ ให้ส่งพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย

หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย

ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน

ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด


วิหารพาร์ธีนอน (THE PARTHENON)


1. วิหารพาร์ธีนอน (THE PARTHENON)



ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาอะโครโปลิสแห่งนครเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ด้วยความกว้าง 34 เมตร และยาวถึง 76 เมตร ใช้หินอ่อนนับเป็นพันๆตันที่ขนมา จากเขาเพนเตลิกอน ซึ่งห่างจากเอเธนส์ราว 13 กม. ภายในตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยประติมากรรมนูนต่ำที่ลงสีสันงดงาม และที่เด่นเป็นสง่าที่สุดในวิหารก็คือ รูปสลักของ เทพีอธีนา (ATHENA) ซึ่งประกอบขึ้นจากงาช้างและทองคำสูงใหญ่มโหฬารเกือบ 12 เมตร (ตึก 4 ชั้น) กล่าวกันว่า ประติมากรรมนี้ใช้เงินมากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างทั้งหมดของวิหารเลยทีเดียว

**วิหารแห่งนี้มีอายุยาวนานถึง 2,500 ปีแล้ว จัดเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่สุดของกรีกก็ว่าได้




วิหารพาร์เธนอน : Parthenon

วิหารพาร์เธนอนเป็นวิหารที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงในด้านความงดงาม

และความมีสัดส่วนเหมาะเจาะสมบูรณ์ มีขนาดกว้าง 100 ฟุต ยาว 230 ฟุต


และสูง 65 ฟุต เป็นศิลปะแบบดอริก ออกบบโดยสถาปนิกชื่อ อิคตินุส (Ictinus)


และ คาลลิคราเตส (Callicrates) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างภายใต้การควบคุม

ของประติมากรชื่อ พิดิอัส (Phidias)

ซากที่ยังเหลือให้เห็น ก็คือ โครงสร้างที่ค้ำด้วยเสาหินอ่อน สีอมชมพู


และหน้าบันบางส่วน ส่วนภายในเคยมี ประติมากรรม เทพีอาธีนา ขนาดใหญ่ตั้งอยู่

วิหารนี้ใช้เป็นที่บวงสรวง เทพีอาธีนา ต่อมาใช้เป็นโบสถ์ของชาว คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์

แล้วก็เปลี่ยนมาเป็น โบสถ์คาทอลิก จนกระทั่งในยุคที่ ชาวเติร์ก ครองเมืองถูกดัดแปลงมาเป็น


มัสยิด และในที่สุดก็ถูกใช้เป็นที่เก็บดินปืน ในสงครามระหว่างเติร์ก กับ เวเนเชี่ยน (Venetian)

ทำให้ถูกระเบิดเสียหายไปบางส่วน และ วิหารพาร์เธนอน มาทรุดโทรมอย่างหนัก

เมื่อคราวสงครามกอบกู้อิสรภาพของกรีก จาก เติร์ก