วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย



อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

- เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณืระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำโทกริสและแม่น้ำยูเฟรติส จึงทำให้ชนชาติต่างๆแย่งชิงผลัดเปลี่ยนเข้ามาสร้างสรรค์อารยธรรมของตน


- ชาติแรกที่เข้ามา คือ สุเมเรียน ซึ่งมีความเจริญด้านการเกษตร รู้จักการชลประทานและจัดการปกครองแบบนครรัฐได้เป็นครั้งแรก
ชาวสุเมรียน (Sumerians) และจักรวรรดิอัคคาเดียน (Akkadian)
ชาวสุเมเรียน เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินดอนสามเหลี่ยมปากน้ำไทกริสและยูเฟรทิส เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญมีดังนี้
การประดิษฐ์ตัวอักษรลิ่ม (Cuneiforms) โดยใช้ลำดับต้นอ้อสลักตัวอักษรลงบนแผ่นดินเหนียวเปียก แล้วนำไปอบด้วยความร้อนจนแห้ง
การสร้างวิหารซิกกูแรต (Ziggurat) บนเนินสูง ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางาศาสนา และศูนย์กลางของศิลปหัตถกรรม และโรงพยาบาล ทำด้วยดินเหนียวตากแห้ง
การแกะสลักตราประจำตัว สำหรับประทับในจดหมายซึ่งเขียนบนแผ่นดินเหนียวและการใช้โลหะผสมสำริด ประดิษฐ์เครื่องใช้ต่างๆ
การพัฒนางานกสิกรรม เช่น ขุดคลองส่งน้ำ สร้างทำนบกั้นน้ำ ฯลฯ รวมทั้งความเจริญทางคณิตศาสตร์ รู้จักการคูณ หาร และการถอดรากกำลังสอง เป็นต้น
วัฒนธรรมทางศาสนา ชาวสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์ และกษัตริย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเทพเจ้าให้มาปกคลองโลกมนุษย์ ความเชื่อดังกล่าวถ่ายทอดไปยังชาวกรีกและโรมันในสมัยต่อมา นอกจากนี้ ชาวสุเมเรียนไม่เชื่อเรื่องภพหน้า จึงไม่มีการสร้างสุสานหรือมัมมีเหมือนอียิปต์โบราณ
ชาวอัคคาเดียน (Akkadians) ได้ยกกำลังเข้ารุกรานดินแดนของชาวสุเมรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีจักรวรรดิเกิดขึ้นในโลก เรียกว่า จักรวรรดิอัคคาเดียน
- ประดิษฐ์อักษรลิ่ม ลงบนแผ่นดินเหนียว มีความเจริญด้านคณิตศาสตร์ เช่น การคูณหาร ถอดรากกำลังสอง เลขฐาน 60 เป็นต้น มีการติดต่อค้าขายกับภายนอก
- นับถือเทพเจ้าหลายองค์ วิหารบูชาเทพเจ้า คือ ซิกกูแรท (Ziggurat)


- บาบิโลเนีย ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมบูราบี ใช้บทลงโทษที่รุนแรง " ตาต่อตา ฟันต่อฟัน " เพื่อสร้างระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดน ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก
ชาวบาบิโลเนีย (Babylonia)
พวกอมอไรต์ (Amorites) ชนเผ่าเร่ร่อนจากทะเลทรายอาระเบีย เข้ายึดครองดินแดนของชาวสุเมเรียนได้ และจัดตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้น เมื่อประมาณ 1,800 ปี ก่อนคริสตกาล มีอำนาจทางการทหารเข้มแข้ง และการค้าขยายตัวอย่างกว้างขวาง
งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวบาบิโลเนีย คือ ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี (Hummurabi) เป็นกฎหมายฉบับแรกของโลก มีบทลงโทษอย่างรุนแรงตามหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน


- อัสซีเรีย การแกะสลักภาพนูนต่ำ (bas relief) แสดงการสู้รบของกษัตริย์อัสซูร์บาลิปาล รวบรวมงานเขียนไว้ที่ห้องสมุดเมืองนายเวห์ (Nineveh) ซึ่งเป็นห้องสมุดแห่งแรกของโลก
ชาวอัสซีเรียน (Assyrians)
ชาวอัสซีเรียน ได้สถาปนาจักรวรรดิตนขึ้น เมื่อประมาณ 1,300 ปี ก่อนคริสตกาล มีการจัดการปกครองแบบรัฐทหารที่มีประสิทธิภาพ มีการเก็บภาษีอย่างหนัก
งานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ การแกะสลักภาพนูนต่ำ (Base-relief) ลงบนดินเหนียวหรือหิน แสดงการล่าสัตว์และการทำสงคราม มีฝีมือประณีต ละเอียด งดงาม
การเริ่มใช้ "ประตูโค้ง" (Arch) ซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวโรมันในสมัยต่อมา
ห้องสมุดแห่งแรกของโลก ที่เมืองมิเนเวห์ (Nineveh) ซึ่งอยู่ในเขตประเทศอิรัก ทำด้วยอิฐตากแห้งกว่า 20,000 แผ่น ใช้บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ บทเพลงสวด นิยายปรัมปรา และตำราแพทย์ เป็นต้น


- คาลเดีย สร้างสวนลอยแห่งกรุงบสบิโลน มีความสามารถด้านดาราศาสตร์ แบ่งสัปดาห์ 7 วัน สามารถทำนายสุริยุปราคา และนำดาราศาสตร์มาเป็นเครื่องทำนายชะตาชีวิตมนุษย์
ชาวคาลเดียน (Chaldeans)
ชาวคาลเดียนก่อตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง (The New Babylonia) เมื่อประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล งานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ การสร้างสวนลอยขนาดใหญ่ มีชื่อว่า "สวนลอยแห่งบาบิโลน" บริเวณเหนือพระราชวัง นับว่าเป็นสงหนึ่งของโลก
ชาวคาลเดียนมีความสามารถทางด้านดาราศาสตร์ การทำนายสุริยุปราคาและแบ่งสัปดาห์หนึ่งเป็น 7 วัน


- เปอร์เซีย ระบอบการปกครองแบบจักรวรรดินิยมที่มั่นคง ขยายการค้าไปยังดินแดนต่างๆ
ชาวเปอร์เซีย (Persia) กับงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมในเอเชียไมเนอร์ (Asia minor)
กองทัพเปอร์เซียสมัยพระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyras The Great) ได้ยกกองทัพเข้ายึดครองอาณาจักรบาบิโลเนีย ในดินแดนเมโสโปเตเมีย และผนวกดินแดนแห่งนี้เข้ากับจักรวรรดิเปอร์เซีย
งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของชาวเปอร์เซีย เป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น เสาคอลัมน์ (Column) และการแกะสลักภาพเหตุการณ์ต่างๆ บนผนังอาคารซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมสมัยกรีกและโรมันในเวลาต่อมา


- ฟินิเซีย มีความสามารถด้านการค้า การแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นชาติแรกที่มีเหรียญทองคำใช้ เป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมของชาติต่างๆในภูมิภาคนี้
สถาปัตยกรรม : อารยธรรมเมโสโปเตเมีย นิยมสร้าง Ziggurat ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสร้างด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความคงทนสู้งานสถาปัตยกรรมของอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ลักษณะสำคัญของซิกกูรัตก็คือเป็นปิรามิดแบบขั้นบันได ซึ่งในระยะแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวิหารสำหรับพวกพระประกอบพิธีกรรมในทางศาสนา แต่ต่อมากซิกกูรัตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของกษัตริย์ เช่น ซิกกูรัตที่เมืองอูร์ (Ur)
Zigguratเป็นศาสนสถาน ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ สร้างด้วยอิฐตากแห้ง เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่าง ๆ เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศมักวิปริตแปรปรวนอยู่เสมอ พายุลม พายุฝุ่น เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจป้องกันได้ เป็นผลให้พวกเมโสโปเตเมียเห็นตัวเองเป็นทาสหรือของเล่นของเทพเจ้า สังคมสุเมเรียนจึงยกย่องเกรงกลัวเทพเจ้า ต้องรับใช้เทพเจ้าอย่างซื่อสัตย์ เพื่อให้เทพเจ้าทรงเมตตา และไม่ลงโทษด้วยภัยธรรมชาติต่าง

ซิกกูรัตที่ขุดพบได้ อาทิเช่น "The White Temple" พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) มีอายุประมาณ 3,500 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล

นอกจากนี้ ยังมีสุสานอันเป็นสถานที่เก็บพระศพของกษัตริย์ เช่น สุสานของกษัตริย์อาบาร์กี (Abargi) และราชินีชูบัด (Shubad) สร้างประมาณ 2,570 ปีก่อนคริสตกาล ก่อด้วยหินขุดเป็นอุโมงค์ลงไปใต้พื้นดิน ภายในไม่ซับซ้อนเหมือนสุสานของอียิปต์โบราณ มีห้องสำหรับเก็บพระศพและสมบัติ ส่วนข้างนอกห้องเป็นอุโมงค์กว้าง มีหลุมหินหลายหลุม หลุมแรกสำหรับพวกทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ หลุมที่สองมีซากรถม้า เกวียน รวมทั้งซากวัวและม้า ตลอดจนซากคนขับรถ หลุมที่สามเป็นหลุมสำหรับนักดนตรี หลุมสุดท้ายเป็นหลุมของพวกนางสนมกำนัล บุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นคนสนิทของพระาชาและพระราชินีที่ถูกสั่งให้ดื่มยาพิษ เพื่อตามไปรับใช้ในโลกหน้าอันเป็นความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายของคนในสมัยนั้น
จิตรกรรม : ภาพจิตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ภาพเขียนพระนางชูบัด(Shubad) พบในสุสานเมืองเออร์ (Ur) มีอายุประมาณ 2,850 2,450 B.C.

ประติมากรรม : ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมแบบนูนสูง และลอยตัวเกี่ยวกับเทพเจ้ากษัตริย์ และบุคคลสำคัญในสมัยนั้น ซึ่งมีดังนี้ คือ

รูปสลักศีรษะผู้หญิงซึ่งขุดพบได้ที่เมืองอูรุค (Uruk) มีอายุประมาณ 3,500 3,000 ปีก่อนคริสตกาล รูปสลักชิ้นนี้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ดวงตาและคิ้วนั้นเดิมคงทำด้วยวัสดุทาสี ส่วนผมทำด้วยทองหรือทองแดง แต่สิ่งเหล่านี้ได้หลุดหายไปหมดแล้ว เหลือเพียงส่วนที่เป็นโครงหน้าและกะโหลกศีรษะเท่านั้น

ที่วิหารอาบู (Abu Temple) ที่เทลอัสมาร์ (Tell Asmar) มีหลายชิ้นด้วยกัน เช่น ประติมากรรมแบบลอยตัว มีอายุประมาณ 2,700 2,500 ปีก่อนคริสตกาล นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีทั้งรูปเทพเจ้า Abu (เทพเจ้าแห่งพืชผัก) รูปสลักมหามาตาเทวี รูปสลักพวกพระและบุคคลที่น่าเคารพ เป็นต้น รูปสลักเหล่านี้ทำจากยิบซัมผสมกับพวกแร่ไหม้ไฟ เช่น อัสฟัลต์ และปิโตรเลียม

งานประติมากรรมแบบลอยตัวอีกชิ้นหนึ่งซึ่งสวยงามมาก ทำจากวัสดุพวกไม้ แต่ทาสีทอง เป็นรูปแพะมีปีกยืนใกล้ต้นไม้ (Billy Goat and Tree) งานชิ้นนี้พบที่เมืองอูร์ (Ur) สร้างเมื่อประมาณปี 2,600 B.C. ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงฟิลาเดลเฟีย

ลักษณะเด่นชัดในงานประติมากรรมของสุเมเรีย คือ

รูปทรงมีลักษณะเป็นแบบเรขาคณิตมากกว่าที่จะเป็นแบบสัจนิยม (Realistic)

นิยมสลักดวงตาให้ใหญ่มากเพื่อใช้สื่อสารกับเทพเจ้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ดวงตาคือหน้าต่างของวิญญาณ (Window of the soul)

ถ้าเป็นรูปเทพเจ้าจะมีขนาดใหญ่ และดวงตานิยมทาสี

การจัดภาพสำหรับประติมากรรมแบบนูนสูงนั้น ถ้าเป็นบุคคลสำคัญจะมีขนาดใหญ่ ส่วนตัวประกอบจะมีขนาดเล็กลงตามส่วน

นิยมใช้สีต่าง ๆ เข้ามาบ้างแล้ว โดยเฉพาะสีทองและสีฟ้า

ประดิษฐ์ตัวอักษร อักษรที่บันทึกเรียกว่า อักษรลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม

อักษรลิ่มเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ชาวสุเมเรียนนำเอาไม้สลักลงบนแผ่นดินเหนียวเปียกเป็นสัญลักษณ์

การประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นประโยชน์ต่อศาสนกิจ การบันทึกของพวกพระ เช่นบัญชีรับจ่าย

บทบัญญัติทางศาสนา




บาบิโลน
allowfullscreen="true" width="425" height="344">

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น