วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552
กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ Stonehenge
กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์
Stonehenge
ตำแหน่งที่ตั้ง
เมืองซัลลิสเบอรี่ มณฑลวิลไซร์ ประเทศอังกฤษ
ปัจจุบัน
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
รายละเอียด
ที่ทุ่งนาแห่งหนึ่ง ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 90 ไมล์ มีแนวหินเรียงราย ราวๆ 3 กิโลเมตร และ มีกลุ่มหินใหญ่ประมาณ 30 ก้อน ตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางทุ่งนา
เป็นรูปวงกลม กว้าง 30 เมตร โดยไม่มีร่องรอยของความเป็นมา และไม่ปรากฏว่ามีการขน หรือสิ่งปรักหักพังในการก่อสร้าง บริเวณที่ดังกล่าวอยู่ให้เป็นปัญหา คาดว่าสร้างขึ้น ตั้งแต่ก่อน ค.ศ. ประมาณ 2,000 ปี ซึ่งหิน 16 ใน 30 ก้อน ที่ตั้งอยู่รอบนอก เฉลี่ยแล้วสูง 4 เมตร หนัก 26 ตัน นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาด ว่าหินก้อนใหญ่ ๆ เหล่านี้
มาตั้งอยู่เป็นกลุ่มก้อนได้อย่างไรใช้อะไรยกหินก้อน ที่หนักๆ หลายๆ ตันขึ้นวางซ้อนกันได้
สโตนเฮนจ์ (อังกฤษ: Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบว้างใหญ่ในบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ ในบริเวณตอนใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันอยู่ในแนวนอน และบางอันก็ถูกวางซ้อนขึ้นไปข้างบน
สโตนเฮนจ์มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินประหลาดซึ่งไม่มีใครทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาถึงอายุของมันแล้ว คาดว่ากลุ่มกองหินประหลาดนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และที่น่าแปลกไปกว่านั้นคือ ในบริเวณที่ราบดังกล่าว ไม่ใช่บริเวณที่จะมีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมด มาจากที่อื่น ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งมาล์โบโร" ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเลยทีเดียว
มีผู้สันนิษฐานถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างสโตนเฮนจ์กันหลายประเด็น แต่ประเด็นที่ดูจะได้รับความเชื่อถือมากที่สุดคือ เป็นสถานที่สำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนาของชนกลุ่มที่นับถือลัทธิดรูอิท รองลงมาคือความเชื่อที่ระบุว่า เป็นการสร้างเพื่อหวังผลทางดาราศาสตร์ ใช้ในการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา เป็นต้น.
ปล.สโตนเฮนจ์ได้ถูกจัดให้เป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น