วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)


วัดพระศรีรัตนศาสดาราม



พระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหารัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ภายในวัดพระแก้วนี้มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมาย เช่น
พระอุโบสถหรือโบสถ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย มีระเบียงเดินได้รอบพระอุโบสถ

ผนังอุโบสถสวยงามมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างทั้งหมดประดับมุกโดยฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ภายในพระอุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่คนไทยรียกกันจนติดปากว่า พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียวเข้มที่มีค่าและหายากมาก ถ้าใครเคยไปแถวสนามหลวง จะมองเห็นกำแพงยาวสีขาวล้อมรอบวัดอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่โตและสวยงามมากทีเดียว ทราบไหมว่าเป็นสัตว์อะไร ก็วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั่นไง เรามาดูกันดีกว่าวัดนี้มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมากันอย่างไร

วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้มีลักษณะที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัดนี้เลยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับหลายคนคงเคยไปนมัสการพระแก้สมรกตกันมาแล้ว เคยสังเกตไหมว่าพระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ทราบหรือไม่ว่ามีเครื่องทรงฤดูอะไรบ้าง และจะเปลี่ยนเครื่องทรงเมื่อไร
เครื่องทรงของวัดพระแก้วมรกตมีเครื่องทรงฤดูร้อน เครื่องทรงฤดูฝน เครื่องทรงฤดูหนาว ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วยทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑

จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

นอกจากพระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตแล้ว ภายในวัดพระแก้วก็ยังมีพระระเบียงที่งดงามมาก ผนังด้านในของพระระเบียงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และมีคำโคลงจารึกบนแผ่นศิลาเพื่ออธิบายแต่ละภาพติดไว้ที่เสาระเบียงอีกด้วย
สิ่งสำคัญและสวยงามในวัดพระแก้วอีกอย่างหนึ่งคือ ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทจัตุรมุขยอดปรางค์ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับหอพระมนเทียรธรรม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔

ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักกรีตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ฯ ไปทรงถวายราชสักการะพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี อันเป็นวันที่ระลึกถึงพระมหาจักรีวงศ์ หรือที่เราเรียกว่า “ วันจักรี ”
ในบริเวณวัดพระแก้วนี้ยังมีสถานที่สำคัญและงดงามอีกมากมาย เช่น พระมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร เป็นพระมณฑปที่มีรูปทรงงามมาก มีซุ้มประตูทางเข้า ๔ ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงประดับกระจก ภายในพระมณฑปประดิษฐานตู้พระไตรปิฎก เป็นตู้ยอกมณฑปประดับมุกที่ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎกฉบับทอง

สถานที่งดงามซึ่งทุกคนจะได้พบเห็นนอกจากนี้ก็ยังมี พระศรีรัตนเจดีย์ วิหารยอดหอมณเทียรธรรม นครวัดจำลอง หอระฆัง ศาลาราย ฯ ถ้าอยากเห็นสถานที่สำคัญและสิ่งสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้ก็ต้องไปชมกันที่วัดพระแก้ว

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซ.ม สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซ.ม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นพระอุโบสถที่สวยสดงดงามมาก มีภาพเขียนปางมารวิชัยอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บานประตูพระอุโบสถและบานหน้าต่างประดับด้วยมุก มีลวดลายสวยงาม เป็นฝีมือในรัชกาลที่ ๑

พระระเบียง

พระระเบียง คือ พระระเบียงที่ล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน รอบพระระเบียงภายในมรภาพเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจบจบ มีโคลงสี่สุภาพจารึกลงบนแผ่นศิลาตามเสาอธิบายภาพประกอบ

ศาลารายรอบพระอุโบสถ

ศาลารายรอบพระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ศาลาราบรอบพระอุโบสถมี ๑๒ หลัง ใช้เป็นที่อ่านหนังสือศาสนาให้ราษฎรที่ไม่รู้หนังสือฟังเวลามีงานหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จนเกิดมีประเพณีสวดโอ้เอ้ วิหารรายขึ้นที่นี่

หอราชพวศานุสรณ์

. หอราชพวศานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วด้านหลังพระอุโบสถอยู่ทางทิศใต้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเขียนภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร

หอราชกรมานุสรณ์และพงษานุสร

หอราชกรมานุสรณ์และพงษานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่างๆในสมัยอยุธยาหอหนึ่ง และในสมัยรัตนโกสินทร์อีกหอหนึ่ง ภายในเขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรไทยที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้น

พระโพธิธาตุพิมาน

พระโพธิธาตุพิมาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่ระหว่างหอราชกรมานุสรและหอราชพงศานุสร เป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพุทธคยา

หอพระคันธารราษฎร์

. หอพระคันธารราษฎร์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตั้งอยู่ทางด้านใต้มุมพระระเบียง หน้าพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษ-ฐานพระพุทธคันธารราษฎร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระพุทธรูปเรียกฝน เป็นพระพุทธรูปปางประทับนั่ง ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ เป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นพระประธาน ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ และพิธีพิรุณศาสตร์ ภายในหอพระคันธารราษฎร์เขียนภาพเกี่ยวกับฝนต่างๆ เช่น ฝนในแต่ละฤดู รวมทั้งฝนโบกขรณีด้วย ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง

หอระฆัง

หอระฆัง อยู่ทางด้านใต้พระอุโบสถ เดิมสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑
และมารื้อสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำเป็นบุษบกฐาน ด้วยฐานแบบปรางค์ชนิดย่อมุมไม้สิบสอง ต่อจากฐานขึ้นไปเป็นอาคารสี่เหลี่ยม ระฆังนี้กล่าวว่านำมาจากวัดสระเกศ มีเสียงกังวานดีกว่าแห่งอื่น หอระฆังนี้นับ
ว่าเป็นหอระฆังที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง

พระมณฑป

พระมณฑป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่

ปราสาทพระเทพบิดร

ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพ.ศ.๒๓๙๘ อยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ เป็นปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปราสาทพระเทพบิดรนี้ จะเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้ในวันจักรี คือวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี

หอมณเฑียรธรรม

หอมณเฑียรธรรม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ใช้เป็นที่สำหรับราชบัณ-ฑิตบอกหนังสือพระภิกษุสามเณร และไว้ตู้พระไตรปิฎกประดับมุก ๒ ตู้ ภายในหอมณเฑียรธรรม เขียนลายรดน้ำ ตอนบนมีภาพเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม ตอนล่างเป็นภาพเทพบุตร เทพธิดา

หอพระนาก

หอพระนาก สร้างในสมัยรัชกาลที่๑ ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนหล่อด้วยนาก พระพุทธรูปองค์นี้ ต่อมาย้ายไปไว้ที่ พระวิหารยอด ปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์

พระศรีรัตนเจดีย์

พระศรีรัตนเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลท ี่ ๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

นครวัดจำลอง

นครวัดจำลอง อยู่ทางด้านหลังของปราสาทพระเทพบิดร อยู่บนลานพระมณฑป รัชกาลที่ ๔ โปรดให้จำลองไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งพระแก้วมรกตเคยประดิษฐานอยู่ที่นครวัด ซึ่งอยู่ที่ประเทศเขมรปัจจุบัน เพราะสมัยโบราณชาติขอมได้เคยให้ความเคารพต่อพระแก้วมรกตอย่างสูงสุด ได้สร้างนครวัดใหญ่โตเพื่อประดิษฐานไว้ที่นั้น

วิหารยอด

วิหารยอด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปพระเทฑบิดร (พระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง) ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระนากที่อยู่หอพระนากเดิมและพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงนำมาจากเมืองสุโขทัยตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวช

เจดีย์ทอง ๒ องค์

เจดีย์ทอง ๒ องค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเจดีย์เหลี่ยมทรงเครื่องย่อไม้ยี่สิบ หุ้มทองแดงทั้งองค์ปิดทองคำเปลวบัวเชิงบาตร ฐานเจดีย์ประดับด้วยมารแบกกระบี่ โดยรอบองค์เจดีย์




ฐานไพทีและสิ่งประดับตกแต่ง

ฐานไพทีและสิ่งประดับตกแต่ง สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ บนไพทีเป็นที่ตั้งพระมณฑปพระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทพระเทพบิดร นครวัดจำลอง และบุษบกประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ และมีรูปหล่อโลหะปิดทอง เป็นสัตว์หิมพานต์ กับกระถางต้นไม้เป็นสิ่งประดับตกแต่ง หน้ากำแพงไพทีบนพนักกำแพงแต่ละมุมมีกรวยตั้งบนพาน ๒ ชั้น เรียกว่า พนมหมาก บนลานทักษิณของไพทีตั้งรูปหล่อกินนรกินรีประดับเป็นคู่ๆ

มณฑปยอดปรางค์

มณฑปยอดปรางค์ ตั้งอยู่ตรงมุมใกล้หอพระคันธารราษฎร์ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระปรางค์โบราณที่ทรงได้มาจากเมืองเหนือ เมื่อครั้งยังทรงผนวช

ช้างเผือกประจำรัชกาล

ช้างเผือกประจำรัชกาล สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำเป็นรูปช้างสำริดขนาดเล็ก ถือว่าเป็นช้างเผือประจำรัชกาล เหนือช้างขึ้นไปมีเครื่องหมายประจำรัชกาลต่างๆของพระมหากษัตริย์ในกรุงรัตนโกสินทร์

พระปรางค์ ๘ องค์

พระปรางค์ ๘ องค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ อยู่ด้านหน้าของวัด เป็นพระปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างกันทั้ง ๘ องค์ จัดเป็นศิลปอับสูงส่ง ที่ทำขึ้นเพื่อถวายแด่สิ่งศักดิ์ศิทธิ์ต่างๆ



พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงแสน (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย) สภาพเป็นพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง แต่เมื่อพระสงฆ์อัญเชิญออกจากพระเจดีย์ ปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปางหากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้างซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์ เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงได้ทรงยึดพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางทรงพระราชทานคืนให้แก่ลาว


พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้นำแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) นำมาจำหลักเป็นพระพุทธรูปถวายให้พระนาคเสน ถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนได้พยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ จะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ

พุทธศักราช 800 โดยประมาณในแผ่นดินพระเจ้าศิริกิตติกุมาร พระเชษฐราชโอรสในพระเจ้าตักละราช ขึ้นครองราชสมบัติเมืองปาฏลีบุตร เป็นช่วงที่เมืองปาฏลีบุตรเกิดมหากลียุค ทั้งมีการจลาจลภายในและข้าศึกภายนอก ผู้คนในปาฏลีบุตรที่เคารพนับถือพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต ลงสู่สำเภาแล้วเดินทางลี้ภัยไปยังลังกาทวีป เมื่อถึงลังกาทวีปพระเจ้าแผ่นดินลังกาทวีปในสมัยนั้น(ไม่ได้ระบุพระนาม) ทรงรับรักษาพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตเป็นอย่างดียิ่ง และทรงอุปถัมภ์ค้ำชูชาวปาฏลีบุตรเป็นอย่างดีสมควรตามความดีความชอบ

พุทธศักราช 1000 โดยประมาณในแผ่นดินศรีเกษตรพุกามประเทศ พระมหากษัตริย์ผู้ครองนครขณะนั้นคือพระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช(ภาษาบาลี) หรือ มังมหาอโนรธาช่อ(ภาษามอญ) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระอานุภาพมาก บริบูรณ์ด้วยพลช้างพลม้าและทหารมากมาย แต่พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ทรงมีพระราชโองการ ให้ส่งพระราชสาส์นและเครื่องมงคลบรรณาการ ไปยังลังกาทวีป เพื่อขอคัดลอกพระไตรปิฎกและขอพระแก้วมรกตกลับมาด้วย แต่เรือที่บรรทุกพระแก้วมรกตถูกพายุพัด พลัดเข้าไปทางอ่าวกัมพูชาแทน พระเจ้านารายณ์ราชสุริยวงศ์ เจ้ากรุงอินทปัตถ์มหานคร แคว้นกัมพูชา สั่งให้อำมาตย์คุมสำเภากลับไปถวายคืนแก่พระเจ้าอนุรุทธ แต่ส่งกลับไปเพียงพระไตรปิฎกเท่านั้น มิได้ส่งพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกตไปด้วย

หลังจากที่พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่กรุงอินทปัตถ์นานพอสมควร(ไม่ได้ระบุปี) ในแผ่นดินพระเจ้าเสน่ห์ราช เกิดพายุฝนขนาดใหญ่ตกเป็นนิจกาลยาวนานหลายเดือน(ไม่ได้ระบุ) พระเจ้าเสน่ห์ราชก็สวรรคตด้วยอุทกภัยนั้น พระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม) ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นสำเภาหนีไปยังที่ดอน พระเจ้าอติตะราช (อาทิตยราช) เจ้าครองนครอโยธยา(หมายถึงอโยธยาโบราณ) ทราบเรื่องจึงเสด็จกระบวนพยุหยาตรา ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ในที่ปลอดภัย โดยทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานในพระมหาเวชยันตปราสาท และได้ประดิษฐานในนครอโยธยาอีกหลายรัชสมัย

ต่อมาเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระบรมญาติกับกษัตริย์อโยธยาสมัยนั้น จึงทูลขอนำพระแก้วมรกตขึ้นไป ประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรอีกหลายรัชสมัย ซึ่งปัจจุบันก็คือวัดพระแก้วกำแพงเพชร ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต่อมา พระเจ้าพรหมทัศน์เจ้านครหิรัญนครเงินยางเชียงแสนได้ทูลขอพระแก้วมรกตต่อพระเจ้ากำแพงเพชร พระเจ้ากำแพงเพชรจึงได้ถวายให้นครเชียงแสน

ต่อมานครเชียงแสนเกิดมีศึกกับนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครเชียงแสนในเวลานั้นได้ทำการพอกปูนจนทึบและลงรักปิดทองเสมือนพระพุทธรูปสามัญทั่วไป แล้วบรรจุเก็บไว้ในเจดีย์วัดป่าญะในเมืองเชียงแสน จากนั้นกษัตริย์และพระราชวงศ์อพยพผู้คนลงมาทางใต้ ส่วนเมืองเชียงแสนก็ถูกตีแตกและถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น