วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เพดานโค้ง


เพดานโค้ง (อังกฤษ: Vault; ฝรั่งเศส: voute; เยอรมัน: Gewölbe; คาตาลัน: volta) ในทางสถาปัตยกรรมหมายถึงโค้ง (arch) ที่เป็นช่องใต้เพดานหรือหลังคา โครงสร้างของเพดานโค้งจะทำให้เกิดทำให้เกิดแรงผลัก (thrust) จึงจำเป็นต้องมี “แรงต้าน” (Friction) เป็นการโต้ ถ้าเพดานโค้งสร้างใต้ดิน“แรงต้าน” พื้นดินก็จะเป็นตัวต้าน แต่เมื่อสร้างเพดานโค้งบนดินสถาปนิกก็ต้องหาวิธีสร้าง “แรงต้าน” ที่ทำให้เพดานโค้งทรงอยู่ได้ซึ่งก็อาจจะได้แก่กำแพงที่หนาในกรณีที่เป็นเพดานโค้งทรงประทุน หรือค้ำยันซึ่งใช้ในสร้าง “แรงต้าน” ในกรณีที่เพดานโค้งมาตัดกัน

เพดานโค้งแบบที่ง่ายที่สุดเพดานโค้งประทุน หรือ “เพดานโค้งถังไม้” (barrel vault) หรือบางทีก็เรียก “เพดานโค้งอุโมงค์” ซึ่งเป็นเพดานทรงโค้งครึ่งวงกลม ความยาวของเส้นรอบครึ่งวงกลมของเพดานโค้งแบบนี้จะยาวกว่าเส้นผ่าศูนย์กลาง เมื่อสร้างช่างจะสร้างโครงค้ำยันโค้งชั่วคราวเพื่อเป็นแบบสำหรับวางหินรอบส่วนโค้งที่เรียกว่า “voussoir” ที่ยังรับน้ำหนักตัวเองไม่ได้จนกระทั่งวางจากหินก้อนสุดท้ายตรงกลางโค้งที่เรียกว่า “หินหลักยอดโค้ง” ถ้าเป็นบริเวณที่ไม้หาง่ายช่างก็จะใช้โครงไม้ครึ่งวงกลมสำหรับเป็นแบบวางหินรอบส่วนโค้ง เมื่อเสร็จก็ถอดโครงออกแล้วลากเอาไปสร้างเพดานโค้งช่วงต่อไป ในสมัยโบราณโดยเฉพาะที่ชาลเดีย (Chaldaea) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรบาบิโลเนีย และที่ อียิปต์ที่ไม้หายากสถาปนิกก็ต้องใช้วิธีอื่นช่วย ในสมัยโรมันโบราณสถาปนิกโรมันก็จะโครงสร้างนี้เป็นปกติ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]



ชนิดของเพดานโค้ง
โดม (Dome) คือโครงสร้างที่เป็นทรงครึ่งวงกลมหรือใกล้เคืยง
เพดานโค้งประทุน (barrel vaults) คือโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนถังไม้ หรืออุโมงค์ที่ผ่าครึ่งทำให้มีลักษณะเป็นเพดานโค้งต่อเนื่อง
เพดานโค้งประทุนซ้อน (Groin vault หรือ double barrel vault หรือ cross vault) คือโครงสร้างที่เป็นเพดานโค้งสองอันตัดกัน เพดานส่วนที่ตัดกันบางครั้งก็จะโค้งแหลมแทนที่จะกลม
เพดานโค้งสัน (Rib vault) คือเพดานโค้งที่ทำให้แข็งแรงขึ้นด้วยสันซึ่งเป็นลักษณะเพดานโค้งที่นิยมกันในสถาปัตยกรรมแบบกอธิค
เพดานพัด (Fan vault) เป็นเพดานที่ใช้ในสถาปัตยกรรมแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular) ซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอธิคซึ่งสันของเพดานแยกออกไปเป็นแฉกคล้ายรูปพัด ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีเฉพาะในอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น