วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์


ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ (ภาษาอังกฤษ: Impressionism ) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วง ทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโคลด โมเนท์ที่มีชื่อว่า Impression , Sunrise และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่า Louis Leroy ก็ได้ให้กำเนิดคำ ๆนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่ง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและ วรรณกรรม


ลักษณะ
ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ คือ การใช้พู่กันตระหวัดสีอย่างเข้มๆ ใช้สีสว่างๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดาๆ และมีมุมมองที่พิเศษ

จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปร เปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่างๆ

ภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ ประกอบด้วยการตระหวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้นๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนาๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้างๆ มากกว่ารายละเอียด


ประวัติ
ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่สามทรงบูรณะกรุงปารีสและทำสงคราม สถาบัน Academie des Beaux –arts มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ สิบเก้า ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน จึงกล่าวได้ว่า Academie ได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) Academie ยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบๆ ตามแบบเก่าๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี Academie ยังสนับสนุนให้เหล่า จิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้องแยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง

ในปี ค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” (Le dejeuner sur l’herbe)



โดย Edouard Manet เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้างๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาดๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม

มาเนต์ (ไม่ใช่โมเนต์) อับอายยิ่งนักกับการที่พวกกรรมการปฏิเสธโดยใช้คำพูดแบบเจ็บแสบ ซึ่งทำให้บรรดาศิลปินฝรั่งเศสทั้งหลายเริ่มแสดงความไม่พอใจกันมาก ถึงแม้มาเนต์จะไม่ถือว่าตัวเองเป็นพวกImpressionism เขาก็เป็นคนเปิดอภิปรายใน ร้านกาแฟ Guerbois ที่ซึ่งพวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ มารวมตัวกันและมีอิทธิพลต่อ การค้นหารูปแบบใหม่ ของกลุ่มๆ นั้น

ภายหลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่สามได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเองและ งานแสดงภาพ Salon des Refues (งานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ) ก็ถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี 1874 นั่นเอง พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ (ถึงแม้จะไม่รู้จักว่าชื่ออะไรกันบ้าง) ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า Louis Leroy (นักแกะสลัก จิตรกรและนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง) ได้เขียนบทวิจารณ์แบบเจ็บๆ แสบๆ ลงในหนังสือพิมพ์ Charivari โดยเน้นการโจมตีไปที่ภาพวาดโดยจิตรกรโนเนมในขณะนั้นที่เขาตั้งชื่อในบทความว่า “การแสดงภาพวาดของจิตรกร Impressionism” เลอโรย์ประกาศว่าภาพวาดที่ชื่อว่า Impression ,Sunrise ของโมเนต์อย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวกๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่ สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย

ถึงแม้คำว่าอิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นคำเสียดสีของนักเขียนท่านนี้ แต่พวกศิลปินกลับชื่นชอบมันและเห็นว่าเป็นคำเรียกแบบให้เกียรติกัน ถึงแม้รูปแบบและมาตรฐานของแต่ละคนจะแตกต่างแปรเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ ร้อยรัดพวกเขาให้เป็นหนึ่งเดียวคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นขบถและความเป็นตัวของตัวเองถึงแม้ในอดีต การวาดภาพจะถูกมองอยู่เสมอว่านำเสนอสิ่งต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และทางศาสนาในลักษณะที่เป็นทางการ แต่ความจริงศิลปินหลายท่านก็วาดภาพถึงสิ่งที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน จิตรกรชาวDutchในศวรรษที่ 19 อย่างเช่น Jan Steen มุ่งเน้นไปที่วัตถุธรรมดา แต่ว่างานของพวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการจัดองค์ประกอบภาพแบบเก่าๆ ในการจัดวางฉาก เมื่อศิลปะแนว อิมเพรสชั่นนิสม์ เกิดขึ้น พวกศิลปินก็สนใจในการวาดภาพต่อสิ่งธรรมดาดาดๆและนิยมการเก็บภาพด้วยวิธีใหม่

ในช่วงนั้นภาพถ่ายก็กำลังเป็นที่นิยมและกล้องถ่ายรูปก็พกพาได้ง่ายขึ้น ส่วนภาพถ่ายก็เนียนขึ้นเรื่อย ๆ ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่นหรือ Japonism (เป็นอย่างไรโปรดอ่านต่อข้างล่าง)ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินImpressionism ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ภาพวาดของ Edgar Degas ที่ชื่อว่า La classe de danse หรือชั้นเรียนเต้นรำแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อนและ ด้านล่างขวามือเป็นภาพของพื้นว่างเปล่า


ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ ( Impressionism )มูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดศิลปะคตินิยมอิมเพรสชันนิสม์ พอสรุปได้ดังนี้

เป็นไปตามกฎวิวัฒนาการของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอยางย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามครรลองของชีวิต สภาพหนึ่งสู่สภาพหนึ่ง ไม่สามารถหยุดอยู่กับที่ และความคิดร่วมสมัยย่อมเบื่อหน่ายกับสิ่งซ้ำซาก จำเจ มีกฎเกณฑ์ยุ่งยาก ไม่มีอิสระ ไม่มีการท้าทายสติปัญญา คตินิยมศิลปะแบบเก่าๆ อาทิเช่น นีโอ-คลาสิค โรแมนติด และเรียลลิสม์ ซึ่งเกิดขึ้นและหมดความนิยมลง ล้วนเป็นบทพิสูจน์อันดีสำหรับกฎวิวัฒนาการ อนึ่ง สภาพของสังคม เศรษฐกิจ และ ปรัชญาของชีวิตได้แปรเปลี่ยน ไป คำว่าอิสรภาพ เสรีภาพ และภราดรภาพ เป็นหลักทั่วไปในการแสวงหาทางออกใหม่ ลัทธิปัจเจกชนได้รับการนับถือ ทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปตามแนวเสรีนิยม ศิลปินต้องดำรงชีพอยู่ด้วยตนเองไม่มีข้อผูกพันหรือรับคำสั่งในการทำงานดังแต่ก่อน
ความก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ รุดไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การค้นคว้าทฤษฎีแม่สีแสงอาทิตย์เพิ่มเติม และนักวิทยาศาสตร์ชื่อ เชฟเริล ( Chevereul )ได้เขียนตำราเกี่ยวกับทฤษฎีสี เป็นมูลเหตึจูงใจให้ศิลปินเห็นทางใหม่ในการแสดงออก ประกอบกับได้มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายรูป ทำให้เขียนภาพเหมือนจิงลดความนิยมลงไป เพราะสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ให้ผลิตผลที่เหมือนจริงและรวดเร็วกว่า
การคมนาคมโดยทั่วไปได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น ความเคลื่อนไหวถ่ายเททางศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างเป็นไปโดยสะดวก ทำให้ศิลปินมีทรรศนะกว้างขวาง มีความเข้าใจต่อโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ.1867 มีการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมของญี่ปุ่นขึ้นในปารีสซึ่งก่อให้เกิดแรงดลใจต่อศิลปินหนุ่มสาว หัวก้าวหน้าในยุคนั้นอย่างมากเป็นต้น
มีการพัฒนาสืบทอดความคิดของศิลปินรุ่นก่อนหน้านี้ ได้แก่พวก เรียลลิสต์ ซึ่งนิยมสร้างจากความเป็นจริงที่สามารถมองเห็นได้ และพวกจิตรกรหนุ่มกลุ่มธรรมชาตินิยม โดยเฉพาะพวกกลุ่มบาร์บิซง ซึ่งรวกันไปอยู่ที่หมู่บ้านบาร์บิซง ใกล้ป่าฟองเตนโบล อยู่ไม่ห่างจากปารีสเท่าใดนัก กลุ่มนี้จะยึดถือเอาธรรมชาติ อันได้แก่ ขุนเขาลำเนาไพร เป็นสิ่งที่มีความงามอันบริสุทธิ์และมีคุณค่าสูงสุดพวกเขาจะออกไปวาดภาพ ณ สถานที่ที่ต้องการ ไม่มัวนั่งจินตนาการอยู่ในห้องดังแต่ก่อน นอกจากนี้ยังได้รับแรงดลใจจากจิตรกรอังกฤษสองคน คือ จอห์น คอนสเตเบิล และ วิลเลียม เทอร์เนอร์ ซึ่งมีแนวการสร้างงานคล้ายกลับกลุ่มบาร์บิซง

รายชื่อของจิตรกร Impressionism
Lucy A. Bacon
Frédéric Bazille
Jean Beraud
Mary Cassatt
Gustave Caillebotte
Edgar Degas
George Wharton Edwards
Frederick Carl Frieseke
Eva Gonzalès
Armand Guillaumin
Childe Hassam
Johan Jongkind
J. Alden Weir
Édouard Manet
Willard Metcalf Laura Muntz Lyall
Claude Monet
Berthe Morisot
William McGregor Paxton
Lilla Cabot Perry
Camille Pissarro
Pierre-Auguste Renoir
Theodore Robinson
Zinaida Serebryakova
Alfred Sisley
John Henry Twachtman

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น