วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ศิลปะนีโอ-คลาสสิกอิสม์ (Neo-Classicism)

ศิลปะนีโอ-คลาสสิกอิสม์ (Neo-Classicism) ปลายคริสต์ศตวรรษที่18-ต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 นับตั้งแต่ศิลปะนีโอ-คลาสสิกอิสม์เป็นต้นไป นักประวัติศาสตร์ศิลปะได้จัดให้เป็นช่วง ของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) โดยเริ่มประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อันเป็นช่วงการ ปฏิวัติในฝรั่งเศส เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ได้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในยุโรป ยุคแห่งอำ นาจ และการรวมศูนย์ของกษัตริย์เริ่มเสื่อมคลาย ประชาชนเรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มแข็ง โดย เฉพาะเสรีภาพในความคิดเห็น เพื่อไม่ให้ผูกขาดอยู่ที่ผู้มีอำ นาจผู้เดียว จนเกิดระบบเสรีนิยม ดัง นั้นในช่วงนี้ศิลปินมีอิสระในการสร้างสรรค์งานอย่างเต็มที่ไม่ยึดติดกับประเพณีเก่าๆ ศิลปินใดที่ มีอุดมการณ์เดียวกันก็เกิดการรวมกลุ่ม ตั้งเป็นลัทธิศิลปะ (ด้วยเหตุนี้ศิลปะส่วนใหญ่ในช่วงนี้ มักลงท้ายด้วย “ism” ซึ่งหมายถึง กลุ่มลัทธิ) จึงทำ ให้มีแบบอย่างของศิลปะต่างๆมากมาย ประกอบกับช่วงนี้มีการปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำ คัญ ทั้งด้านวัสดุ วิธีการ และรูปแบบ ดังนั้นหากเรายอมรับว่าช่วงนี้เป็นยุคแห่งการปฏิวัติ (The Age of Revolution) ทั้งหมดแล้ว คงไม่มีคำ ใดเหมาะสมกว่าที่จะเรียกว่า “สมัยใหม่” ศิลปะนีโอ-คลาสสิกอิสม์เกิดขึ้นครั้งแรกที่โรม ประเทศอิตาลี จากนั้นกระจายไปที่ต่างๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้เป็นผลพวงจากการสำ รวจขุดค้นโบราณวัตถุ และโบราณสถาน สมัยโรมันเพิ่มเติม เช่น ที่เมืองเฮอคูลาเนียม (Herculaneum) และปอมเปอี (Pompeii) ความ จริงในสมัยก่อนๆ มีการสำ รวจขุดค้นมาบ้างแล้ว แต่เมื่อขุดค้นขึ้นใหม่ ซึ่งครั้งนี้ทำ อย่างถูกหลัก วิชาการ จึงเท่ากับเพิ่มความท้าทายให้กับมนุษย์ยิ่งขึ้น จากสิ่งที่เคยคิดเคยฝันมาโดยตลอด ประกอบกับในครั้งนี้ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขุดค้นด้านโบราณคดีอย่างกว้างขวาง ทำ ให้เกิดความนิยมชมชอบโดยทั่วไป และหันมารื้อฟื้นรูปแบบของศิลปะสมัยกรีกและโรมันขึ้นมา อีกครั้ง ดังนั้นคำ ว่า นีโอ-คลาสสิก จึงเป็นคำ ที่มีความหมายตรงตัว คือ นีโอ (Neo) หมายถึง ใหม่ คลาสสิก (Classic) หมายถึง กรีกและโรมัน ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง ความเคลื่อนไหว ของศิลปะ ซึ่งมีสุนทรียภาพตามแบบศิลปะกรีกและโรมัน ที่เกิดขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การถือกำ เนิดของศิลปะนีโอ-คลาสสิกอิสม์ ยังเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ ดังเช่น คริสต์จักรแห่งวาติกันได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และที่สำ คัญประการหนึ่ง คือ ความ เบื่อหน่ายต่อศิลปะบาโรกและโรโกโก (Baroque and Rococo) ซึ่งมีรสนิยมอันหรูหราฟุ่มเฟือย หรือมุ่งเอาใจชนชั้นสูงมากเกินไป สิ่งเหล่านี้ศิลปินและปัญญาชนสมัยนั้นต่างถือว่า ไม่ใช่ความ งามสมบูรณ์แบบ ตามคตินิยมของกรีกและโรมัน พวกเขายึดมั่นในอุดมคติของกรีกและโรมัน ดังนั้นรูปแบบความงามและเนื้อหาต่างๆ จึงเต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ ความ ชัดเจน เหตุผล ความมีสัดส่วน และความเสมอภาค คล้ายศิลปะกรีกและโรมัน มีเพียงวัสดุและวีธีการก่อสร้างที่ เปลี่ยนแปลงบ้างตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จิตรกรรมส่วนใหญ่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยกรีกและโรมัน หรือเรื่อง ราวในชีวิตประจำ วันทั่วไป ภาพคนจะเขียนอย่างถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีท่าทางสง่าผ่า เผย มีการใช้สีถูกต้องตามแสงเงา ไล่เฉดสีอ่อนแก่เพื่อให้เกิดความกลมกลืน มีสัดส่วนและ ความเด่นชัด บางครั้งแสดงออกถึงแนวคิดใหม่ๆ จิตรกรที่สำ คัญ ได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด (Jacques Louis David) ชอง โอกุสต์ โดมีนีก แองกร์ (Jean Auguste Dominique lngres) เป็นต้น ประติมากรรมมีสัดส่วนถูกต้อง ยึดระเบียบแบบแผนจากสมัยกรีกและโรมันอย่างเคร่ง ครัด ประติมากรรมคนมักใช้ใบหน้าจากแบบจริงผสมผสานกับรูปร่างแบบสมัยคลาสสิก แต่ก็ดู เหมือนให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวาน้อยกว่าสมัยเรอเนสซองซ์และบาโรก ประติมากรที่สำ คัญ ได้แก่ อันโตนีโอ คาโนวา (Antonio Canova) สถาปัตยกรรมนีโอ-คลาสสิกอิสม์ นับว่ามีอิทธิพลอย่างมากทั้งในยุโรปและอเมริกา ตลอดจนประเทศต่างๆที่เป็นอาณานิคมของยุโรป ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 19 มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมกรีกและโรมัน ทั้งแบบของเสาและการตกแต่ง แต่ ส่วนใหญ่มีรายละเอียดน้อยกว่าศิลปะบาโรกและโรโกโก อีกทั้งดัดแปลงผสมความคิดใหม่ๆ เข้า ไปด้วย การตกแต่งด้านหน้านิยมลวดลายนูนตื้นๆ ไม่หรูหรามากนัก ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น ลายทรงเรขาคณิต) สถาปนิกที่สำ คัญ ได้แก่ โธมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น